Last updated: 1 ก.พ. 2565 | 6579 จำนวนผู้เข้าชม |
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
แนะนำเทคนิคดูแลแผลเป็นนูนคีลอยด์ Ep. 3 คีลอยด์ใบหู? Ear Keloid ดูแลได้อย่างไร?
.
แนวทางในการรักษาโรคคีลอยด์ใบหูนั้น จะพิจารณาตามขนาดของคีลอยด์เป็นสำคัญ โดยแบ่งวิธีการรักษาได้ดังรายละเอียดต่อไปนี้ครับ
.
คีลอยด์ที่ใบหูมีขนาดเล็กกว่า 1 ซม.
.
•จะใช้การรักษาด้วยการฉีดยาสเตียรอยด์ เพื่อทำให้คีลอยด์ยุบตัวลง ซึ่งแพทย์จะทำการนัดมาฉีดยารักษาทุกเดือนจนกว่าแผลจะยุบ โดยวิธีการฉีดยาสเตียรอยด์เพื่อรักษาคีลอยด์ใบหูนั้น
•จะใช้วิธีการฉีดแบบ Intralesional ซึ่งก็คือ การฉีดยาเข้าไปที่ตัวก้อนคีลอยด์เลยโดยตรง ไม่ได้ฉีดผ่านเข้าเส้นเลือดนั่นเอง
.
คีลอยด์ที่ใบหูมีขนาดใหญ่กว่า 1 ซม.
***จะรักษาด้วยการผ่าตัดร่วมกับการใช้ยาฉีดสเตียรอยด์ ***
•โดยส่วนใหญ่แพทย์จะไม่แนะนำให้ใช้การผ่าตัดรักษาเพียงอย่างเดียว เพราะจะทำให้มีโอกาสเป็นซ้ำได้สูง***
•เนื่องจากการผ่าตัดก็คือหนึ่งในการสร้างบาดแผลใหม่ อันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดคีลอยด์ได้
•ดังนั้นจึงจำเป็นต้องฉีดยาสเตียรอยด์ร่วมด้วยเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของแผล โดยส่วนมากจะฉีดหลังจากผ่าตัดเรียบร้อยแล้ว
•การดูแลรักษาจะแตกต่างกันในแต่ละคนแนะนำปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมที่สุดนะครับ
.
สำหรับการผ่าตัด จะเป็นการผ่าแบบยกผิวหนังใบหูขึ้นเพื่อคงรูปใบหูไว้ แล้วตัดเอาเฉพาะก้อนคีลอยด์ออกไป ก่อนจะเย็บปิดแผลให้สนิท แล้วจึงค่อยฉีดสเตียรอยด์ในวันที่ตัดไหม หรือในบางรายที่มีความเสี่ยงเป็นคีลอยด์ซ้ำมากกว่าคนทั่วไป แพทย์จะใช้การผ่าตัดร่วมกับการฉายแสง เพราะการฉายแสงจะมีลักษณะคล้ายกับการใช้ยาเคมีบำบัด คือมีส่วนในการช่วยยับยั้งการสร้างตัวของเซลล์ ทำให้มีโอกาสเกิดคีลอยด์ซ้ำได้น้อยกว่า รวมถึงอาจมีการใช้ยา “ไมโตไมซิน mitomycin” ร่วมด้วยก็ได้ เพื่อป้องกันการเป็นซ้ำอีก แต่ก็จะพิจารณาให้ใช้เป็นรายๆ ไป
.
ป้องกันตัวเองอย่างไร ให้ห่างไกลจากคีลอยด์ใบหู?
แนวทางในการป้องกันการเกิดคีลอยด์ใบหูหลักๆ ก็คือ พยายามหลีกเลี่ยงการทำให้เกิดแผลบริเวณใบหู โดยเฉพาะในคนที่มีความเสี่ยงเป็นคีลอยด์มากกว่าคนทั่วไปนั้น หากทำได้ก็ควรหลีกเลี่ยงการเจาะหูไปเลย สำหรับใครที่กำลังสงสัยว่า…เราจะสามารถทราบว่าตัวเองมีโอกาสเป็นคีลอยด์ได้หรือไม่นั้น ให้สังเกตง่ายๆ จาก “รอยการฉีดวัคซีนที่บริเวณหัวไหล่” หากพบว่ามีแผลนูน ก็จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นคีลอยด์ได้ง่าย หรืออาจสังเกตจาก “รอยแผลบริเวณหน้าอก หรือสิวบริเวณหน้าอก” ที่หากพบว่ามีการเปลี่ยนเป็นแผลนูนมากขึ้น ก็แสดงว่าเราอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นคีลอยด์ได้ง่าย ซึ่งหากพบว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็นคีลอยด์ ก็จะต้องระมัดระวังการผ่าตัด การเจาะหู ตลอดจนดูแลบาดแผลตัวเองให้ดี ทำความสะอาดอย่างดี และไม่ควรแกะเกาจนแผลลุกลามติดเชื้อ ก็จะช่วยลดโอกาสการเกิดคีลอยด์ได้
แม้คีลอยด์ใบหูจะเป็นโรคที่ไม่ได้มีความอันตรายรุนแรงถึงชีวิต แต่ก็นับว่าเป็นโรคที่ทำร้ายและทำลายความมั่นใจในการใช้ชีวิตได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งหากปล่อยทิ้งไว้ ก็จะยิ่งมีโอกาสเกิดการติดเชื้อจากการเกาจนเป็นอันตรายได้ ดังนั้น หากพบอาการผิดปกติว่าบาดแผลจากใบหู หรือบาดแผลตามร่างกายมีลักษณะของการเป็นแผลเป็นที่นูนขยายใหญ่กว่าแผลเริ่มต้น ก็อย่านิ่งนอนใจ ควรรีบไปปรึกษาแพทย์และเข้ารับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อเติมเต็มความมั่นใจ และความปลอดภัยให้กับตัวเราเองให้ได้มากที่สุดครับ
.
Cr: หมอรุจชวนคุย
.
https://www.blockdit.com/posts/61e53a2a97a6a19eda0e8196
https://youtu.be/0fQsXzEQxiY
https://youtu.be/95fee0bB6kQ
https://fb.watch/aEJkKeklUD/
.
คลิก!! จองสิทธิ์!! เพื่อรับข้อเสนอพิเศษ
(จำนวนจำกัด)
.
ฝากติดตามข้อมูลด้าน สิว หลุมสิว แผลเป็น เส้นผม และทุกปัญหาผิวกับหมอรุจได้ที่
...
ปรึกษาคุณหมอหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Tel : 063-959-4392 / 063-896-2514
Line: http://line.me/ti/p/@Demedclinic
Line: @Demedclinic
Wechat/Whatsapp: Demedclinic
IG: https://www.instagram.com/drsuparuj
www.facebook.com/drsuparuj
Youtube https://bit.ly/3p20YLE
Blockdit https://bit.ly/3d8vYr1
https://vt.tiktok.com/ZSJ141Mdf/
https://mobile.twitter.com/drruj1
www.demedclinic.com / www.demedhaircenter.com