Last updated: 9 พ.ค. 2565 | 16966 จำนวนผู้เข้าชม |
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
รอยแผลเป็นชนิดขาว Hypopigmented Scars คืออะไร รักษาได้อย่างไร?
รอยแผลเป็นสีขาว หรือรอยแผลเป็นชนิดขาว คืออะไร
•รอยแผลเป็นสีขาว Hypopigmented Scars คือ รอยแผลเป็นที่ผิวหนังบริเวณแผลเป็นสีขาวกว่าผิวปกติ เป็นภาวะที่พบได้บ่อยพอสมควร
•เกิดจากการที่เซลล์เม็ดสีผิว Melanocyte ที่ผิวหนังถูกทำลาย จึงทำให้สีผิวบริเวณนั้นจางลง เห็นเป็นรอยแผลสีขาว
รอยแผลเป็น สีขาว เกิดจากอะไร
•รอยแผลเป็นสีขาว เกิดจากการที่เม็ดสีผิวที่เรียกว่าเมลานิน Melanin ถูกทำลายไป จนมีปริมาณเม็ดสีผิวน้อยกว่าปกติ หรือบางครั้งเซลล์เม็ดสีผิวไม่ได้ถูกทำลายไปหมด แต่มีจำนวนลดลงหรือทำงานผิดปกติไป ทำให้ไม่สามารถสร้างเม็ดสีผิวได้ปกติ
•รอยแผลเป็นสีขาว สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น อุบัติเหตุที่ผิวหนัง ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โดนน้ำกรด ถูกสารเคมีที่ผิวหนัง นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นได้หลังจากการเกิดผื่นของกลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ โรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง เป็นต้น
•อีกสาเหตุหนึ่งที่พบได้บ่อยขึ้นในปัจจุบัน คือ รอยขาวที่เกิดหลังจากการทำเลเซอร์ ซึ่งพบว่าหลังทำเลเซอร์ไปแล้วรอยดำดูจางลง แต่สีผิวปกติก็จางลงจนเห็นเป็นรอยขาวด้วยเช่นกัน
อาการของโรครอยแผลเป็นสีขาว
•รอยแผลเป็นสีขาวมักจะมาด้วยอาการผิวหนังสีขาวขึ้นกว่าปกติ หลังจากเกิดการอักเสบของผิวหนัง หรือการเกิดอุบัติเหตุที่ผิวหนัง หรือการทำเลเซอร์ที่ผิวหนังบริเวณนั้น เป็นภาวะที่พบได้บ่อย โดยเฉพาะผู้ที่มีผิวคล้ำ จะทำให้เห็นรอยแผลเป็นสีขาวได้ชัดเจน
•รอยแผลเป็นชนิดสีขาวไม่ใช่โรคร้ายแรง ไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย แต่มักจะส่งผลในเรื่องความสวยงาม ทำให้ขาดความมั่นใจ แต่อย่างไรก็ดี ถ้าเกิดรอยโรคชนิดสีขาวและไม่มั่นใจในการวินิจฉัย แนะนำให้ควรมาพบแพทย์ เพราะยังมีโรคผิวหนังหลายชนิดที่สามารถมาด้วยอาการรอยขาวที่ผิวหนัง เช่น โรคด่างขาว โรคเกลื้อน โรคพุ่มพวง และโรคมะเร็งผิวหนังบางชนิด เป็นต้น
รอยแผลเป็นสีขาวรักษายังไง
•การรักษารอยแผลเป็นสีขาว จะต้องดูสาเหตุที่ทำให้เกิดร่วมด้วย เช่น หากเกิดจากโรคผิวหนังก็ต้องรักษาโรคผิวหนังที่เป็นร่วมด้วย หากเกิดจากอุบัติเหตุก็ต้องรักษาบาดแผลให้ดี
การรักษารอยแผลเป็นสีขาว
•การรักษารอยแผลเป็นชนิดสีขาว โดยส่วนใหญ่จะรักษายากกว่ารอยแผลเป็นทั่วไป หรือรอยแผลเป็นชนิดสีดำ โดยการรักษามีให้เลือกใช้ตั้งแต่ยากิน ยาทา การฉายแสงอาทิตย์เทียม เลเซอร์ที่ใช้ในการกระตุ้นเซลล์เม็ดสีผิวและการปลูกถ่ายเซลล์เม็ดสี
•การเลือกใช้ยาและวิธีการรักษาจะต้องดูเป็นเคสต่อเคส โดยพิจารณาจากสาเหตุที่ทำให้เกิดแผลเป็น ความรุนแรงของรอยขาว และระยะเวลาที่คนไข้เป็น
วิธีการรักษา ได้แก่ การทายาที่มีฤทธิ์กระตุ้นเม็ดสี การใช้แสงหรือเลเซอร์บางชนิดพอจะช่วยให้ เซลล์เม็ดสีฟื้นตัวขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม
1.การใช้เลเซอร์ Fractional Ablative Laser เช่นFractional CO2 Laser จะปล่อยพลังงานลงไป ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดสี
2.การทายาที่มีฤทธิ์กระตุ้นเม็ดสี เช่น Bimatoprost โดยอาจใช้ร่วมกับการทำเลเซอร์ drug delivery with fractional laser and microneedling Bimatoprost, (Bimatoprost, synthetic prostaglandin F2a analog, is believed to induce hyperpigmentation by increasing melanocyte dendricity and stimulating tyrosinase, a rate-limiting enzyme in melanogenesis.)
3.การฉายแสงอาทิตย์เทียม (NB-UVB) คืออะไร
•การฉายแสงอาทิตย์เทียมอัลตราไวโอเลตบีชนิดคลื่นแคบ (NB-UVB) คือการนำแสงยูวีบี ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแสงอาทิตย์ มีความยาวคลื่น 311-312 นาโนเมตร
•การฉายแสงอาทิตย์เทียมในการรักษารอยแผลเป็นสีขาว แสงยูวีบีจะช่วยกระตุ้นเซลล์เมลาโนไซต์ ให้ผลิตเซลล์เม็ดสีเมลานินของผิวหนัง ทำให้สีผิวค่อยๆกลับคืนมา และยังช่วยลดการขยายวงกว้างของรอยแผลเป็นสีขาวอีกด้วย
4.Melanocyte Grafting การปลูกถ่ายเซลล์เม็ดสีเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการให้สีผิวกลับมาเป็นเช่นเดิม
•หลักการ คือ การนำผิวหนังบริเวณปกติไปสกัดแยกเซลล์เม็ดสี และทำการปลูกถ่ายลงไปบริเวณที่เป็นรอยขาว สีผิวที่เคยเป็นรอยขาวด่างก็จะค่อยๆ กลับมาเป็นสีปกติภายหลังจากการรักษา 3 เดือน
เทคนิคเช่น dermabrasion with thin split thickness grafting, epidermal cell suspension spray, suction blister epidermal minigrafting, minigrafting, cultured epithelium, noncultured keratinocyte suspension, and chip skin grafting.
Hypopigmented scars are usually characterized by white color and a glossy surface. To correct the two problems simultaneously, the authors attempted to induce persistentpostinflammatory hyperpigmentation for color and to build multiple pitted scars like facial skin pores for texture.
Burns. 2018 Mar;44(2):256-262.
JAAD Case Rep. 2021 Sep;15:26-29
Exp Cell Res. 2005;304(2):407-416.
.
Cr:หมอรุจชวนคุย
.
https://bit.ly/3MWNBsy
https://bit.ly/3KTSIZg
https://youtu.be/WvNThcZSVgo
https://youtu.be/GLN6clf0O6Y
https://youtu.be/3RJ_iyX68WY
https://youtu.be/QB_QKaGQt8E
.
คลิก!! จองสิทธิ์!! เพื่อรับข้อเสนอพิเศษ
(จำนวนจำกัด)
...
ปรึกษาคุณหมอหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Tel : 063-959-4392 / 063-896-2514
Line: http://line.me/ti/p/@Demedclinic
Line: @Demedclinic
Wechat/Whatsapp: Demedclinic
IG: https://www.instagram.com/drsuparuj
www.facebook.com/drsuparuj
Youtube: https://bit.ly/3p20YLE
Blockdit: https://bit.ly/3d8vYr1
https://vt.tiktok.com/ZSJ141Mdf/
https://mobile.twitter.com/drruj1
www.demedclinic.com / www.demedhaircenter.com