Last updated: 3 ก.ค. 2565 | 1770 จำนวนผู้เข้าชม |
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ฝ้าเลือด Telangiectatic Melasma มีลักษณะอย่างไร & ดูแลได้อย่างไร?
Dr. Ruj’s comments
•ฝ้าที่มีการขยายตัวของเส้นเลือด Melasma with
telangiectasia หรือที่เรียกว่าฝ้าเลือดจะมีลักษณะเป็นฝ้าสีน้ำตาลและมีความแดง*
•นอกจากเป็นสีน้ำตาลของฝ้าแล้วใบหน้าจะแดง จากมีการขยายตัวของเส้นเลือดครับทำให้ฝ้านอกจากจะดูคำแล้วจะมีความแดงร่วมด้วย
•เกิดจากการโดนแสงแดด, การใช้ยาสเตียรอยด์, hydroqyinone หรือสารที่ทำให้เกิดการระคายเคืองความเข้มข้นสูงหรือระยะเวลานาน*
•การรักษาต้องใช้ระยะเวลาและความอดทนอย่างมากครับ เช่น ป้องกันแสงแดด, หยุดยาที่ทำให้เส้นเลือดขยาย , ทายาลดเม็ดสี, ทานยา
•การใช้เลเซอร์ที่จำเพาะกับเส้นเลือด เช่น Vbeam สามารถช่วยลดความแดงได้ แต่ต้องใช้อย่างระมัดระวังเพราะมีโอกาสเกิดรอยคล้ำมากขึ้นได้ครับ
ทางการแพทย์เรียกว่า Vascular Melasma หรือ Telangiectetic Melasma หรือ Melasma with vascular component
•เกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือดฝอยบนใบหน้าเนื่องจากผิวหนังรับรังสีอัลตราไวโอเล็ตจากแสงแดดเป็นเวลานาน
•เส้นเลือดฝอยในชั้นหนังแท้จึงเพิ่มจำนวนขึ้นหรือเสื่อมสภาพ ทำให้เห็นเส้นเลือดฝอยแตกแขนงเป็นกระจุกบนผิวหน้า เกิดเป็นรอยสีชมพู สีน้ำตาลแดง ไปจนถึงสีคล้ำ เรียกว่า “ฝ้าเลือด”
•เป็นผลมาจากการใช้เครื่องสำอาง หรือยา ที่มีส่วนผสมของเสตียรอยด์ ทำให้เส้นเลือดฝอยแตกและมีเลือดกระจุกบริเวณพังผืดใต้ผิวหนังชั้นลึก
โดยฝ้าจะมีสีน้ำตาลแดง
*จัดเป็นฝ้าที่รักษายาก ฝ้าเลือดพบในเพศหญิงได้มากกว่าเพศชายถึง 80%
-ซึ่งชนิดของฝ้ามีส่วนช่วยในการวางแผนการดูแลรักษาต่อไปครับ
สาเหตุของการเกิดฝ้าเลือด
•แสงแดด: เมื่อผิวได้รับแสงแดดสะสมเป็นระยะเวลานานจะทำให้เซลล์ผิวหนังบริเวณนั้นเสื่อมสภาพ ชั้นผิวบางลง ร่วมกับ แสงแดดจะกระตุ้นเส้นเลือดฝอยเพิ่มจำนวนขึ้นจนเป็นฝ้าเลือด บริเวณที่พบฝ้าเลือดได้มากที่สุดคือบริเวณโหนกแก้มและสันจมูก
* ฝ้าเลือดจะคล้ำขึ้นจากฝ้าด้วยกันเอง เพราะเมื่อเป็นฝ้า เส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังจะเพิ่มปริมาณมากกว่าปกติ เส้นเลือดฝอยเหล่านี้จะส่งสัญญาณไปกระตุ้นเซลล์เม็ดสี (Melanocytes) ให้ผลิตเม็ดสี (Melanin pigment) มากขึ้น ดังนั้นจึงต้องใช้เลเซอร์ที่ทําลายเส้นเลือดฝอยเหล่านี้
* การใช้ผลิตภัณฑ์เร่งผิวขาวตามท้องตลาด เช่น ไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) และสเตียรอยด์ Steroid หากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้ผิวบาง และก่อให้เกิดฝ้าถาวร Ochronosis ได้
* ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวบางประเภทมีสารอันตราย เช่น ปรอท สเตียรอยด์ เป็นส่วนประกอบ ซึ่งสารเหล่านี้เป็นสารที่ห้ามนํามาใช้เป็นส่วนประกอบของเครื่องสําอาง หากใช้สารเหล่านี้เป็นระยะเวลานาน เส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนังจะขยายตัวมากขึ้นจนเกิดเป็นฝ้าเลือด
การดูแลฝ้าเลือด
* หลีกเลี่ยงแสงแดด ควรทาครีมกันแดด ทั้งที่อยู่ในร่มและออกกลางแจ้งและต้องมีอุปกรณ์เสริม เช่น ร่ม หมวก อาหารบำรุงผิว
* หยุดใช้ครีมที่มีสารไฮโดรควิโนนและสารสเตียรอยด์ ที่มักอยู่ในครีมหน้าขาวต่างๆ ซึ่งมักไม่รับการรับรองจาก อย. เพราะครีมเหล่านี้ทำให้ผิวบางลง ไวต่อแสงได้ง่าย ส่งผลให้เกิดฝ้าได้ง่ายยิ่งขึ้น
* ทาครีมรักษาฝ้าที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและบำรุงเซลล์ผิว ซึ่งควรใช้แบบที่ผลิตจากสารสกัดธรรมชาติ เช่น กลุ่มแคโรทีนอยด์ Vitamin C หรือ E ก็จะช่วยปรับสีผิวโดยรอบให้รอยฝ้าค่อยๆ จางลงได้
* การใช้เวชสำอางที่ช่วยลดเม็ดสีโดยไม่ทำให้เกิดเส้นเลือดขยาย เช่น Arbutin, Kojic acid , Thiamidol, Niacinamide, Tranexamic acid เป็นต้น
* ทามอยเจอไรเซอร์บำรุงผิว โดยเฉพาะที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบของผิวเนื่องจากฝ้าเลือดมักจะมีเกราะป้องกันผิวที่เสียไปทำให้มีโอกาสแดงได้มากขึ้นครับ
•การใช้ยารับประทานแนะนำปรึกษาแพทย์ก่อนนะครับ
การรักษาฝ้าด้วยเลเซอร์/แสง
•เช่น IPL, QsNDYAG, Fractional Laser, Picosecond Laser เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เพราะมีความแม่นยำและรักษาได้ตรงจุด
***แต่การรักษาฝ้านี้ก็เป็นเพียงการรักษาเสริมเท่านั้น ไม่ใช่การรักษาหลัก (ใช้ทำลายเม็ดสีที่ปลายเหตุ ไม่ได้ช่วยยับยั้งการสร้างเม็ดสีที่เป็นต้นเหตุ)ครับ***
•การทำเลเซอร์จะอาศัยหลักการปล่อยพลังงานความร้อนไปยังฝ้าเพื่อทำลายเม็ดสีโดยตรง นั่นจึงเป็นผลทำให้ผิวบริเวณที่ทำเลเซอร์นั้นไวต่อแสง (หลังทำในช่วง 2-4 สัปดาห์ห้ามโดนแดดอย่างเด็ดขาด), ผิวแพ้ง่าย (ต้องงดใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบของกรดหรือใช้สครับเพราะจะทำให้เกิดอาการอักเสบได้ง่าย), ผิวแห้ง ตกสะเก็ด และเป็นขุย, เป็นสาเหตุการเกิดฝ้าใหม่และมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ง่ายกว่าเดิม (เพราะผิวมีสภาพอ่อนแอจากการทำเลเซอร์),
•เนื่องจากฝ้าเลือดจะมีการขยายตัวของเส้นเลือดฝอยมากขึ้นดังนั้นการใช้เลเซอร์ที่สามารถจับกับเม็ดเลือดแดงโดยตรง เช่น Pulse Dye Laser (PDL,Vbeam) , Gold toning QsNdYag, Gold toning Picosecond Laser เป็นต้น จะสามารถช่วยลดความแดงได้ครับ
•แต่ต้องระมัดระวังในคนที่มีสีผิวเข้ม มีโอกาสเกิดฝ้าเข้มมากขึ้นได้ครับ
ตัวอย่าง งานวิจัยโดย ผศ. นพ. ศุภะรุจ (หมอรุจ) และ รศ. นพ. เทอดพงศ์ และทีมงาน เกี่ยวกับการดูแลรักษาฝ้าเลือด Melasma with telangiectasia ด้วยการใช้เลเซอร์
•พบว่าได้ผลในระดับหนึ่ง โดยต้องดูแลรักษาร่วมกับการทายาและปกป้องแสงแดดด้วยครับ
***ที่สำคัญคือต้องใช้อย่างระมัดระวังโดยเฉพาะในผู้ที่มีสีผิวเข้มครับ*
Lueangarun S, Namboonlue C, Tempark T. Postinflammatory and rebound hyperpigmentation as a complication after treatment efficacy of telangiectatic melasma with 585 nanometers Q-switched Nd: YAG laser and 4% hydroquinone cream in skin phototypes III-V. J Cosmet Dermatol. 2021 Jun;20(6):1700-1708. doi: 10.1111/jocd.13756.
https://bit.ly/3LiuyIa
https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/33002283/
Masub N, Nguyen JK, Austin E, Jagdeo J. The Vascular Component of Melasma: A Systematic Review of Laboratory, Diagnostic, and Therapeutic Evidence. Dermatol Surg. 2020 Dec;46(12):1642-1650.
.
Cr: หมอรุจชวนคุย
...
ตัวอย่างคลิปการรักษา
https://vt.tiktok.com/ZSJ6UDuxW/
https://bit.ly/3wp2PPC
https://youtu.be/Gkzy95YHLTc
https://www.facebook.com/454651174702057/posts/1795171417316686/
https://youtu.be/XsZ4jdpB8Lg
https://bit.ly/36MpfBQ
https://youtu.be/1ENnjw_eTaY
https://www.blockdit.com/posts/623dfe87e332bde08580252a
https://youtu.be/47piPvirYp4
...
คลิก!! จองสิทธิ์!! เพื่อรับข้อเสนอพิเศษ
(จำนวนจำกัด)
...
ปรึกษาคุณหมอหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Tel : 063-959-4392 / 063-896-2514
Line: http://line.me/ti/p/@Demedclinic
Line: @Demedclinic
Wechat/Whatsapp: Demedclinic
IG: https://www.instagram.com/drsuparuj
www.facebook.com/drsuparuj
Youtube: https://bit.ly/3p20YLE
Blockdit: https://bit.ly/3d8vYr1
https://vt.tiktok.com/ZSJ141Mdf/
https://mobile.twitter.com/drruj1
www.demedclinic.com / www.demedhaircenter.com
31 ธ.ค. 2567