Last updated: 31 ต.ค. 2562 | 19840 จำนวนผู้เข้าชม |
โรคผิวหนังอักเสบเซ็บเดิร์ม Seborrheic Dermatitis หรือโรคผื่นแพ้ต่อมไขมัน คืออะไร รักษาได้อย่างไร
หน้าแดงมันมีขุย ศีรษะมีรังแคเยอะ อาจเกิดจากโรค เซปเดิม #Seborrheicdermatitis ได้ครับ ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อย มาทำความรู้จักกับโรคนี้กันครับ
โรคผิวหนังอักเสบเซ็บเดิร์ม Seborrheic Dermatitis หรือโรคผื่นแพ้ต่อมไขมัน มีอีกหลายชื่อครับ เช่น โรครังแคบนใบหน้า โรคผื่นแพ้ต่อมน้ำมัน โรคผื่น ผิวหนังอักเสบบริเวณผิวมัน
-เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังที่พบบ่อย เป็นเป็นหายหาย แม้จะไม่ใช่โรคติดต่อ อาการไม่รุนแรงมากนัก แต่ก็สร้างความลำบากใจให้กับคนไข้ได้ไม่น้อยท
- ผิวหนังมีอาการอักเสบจากต่อมไขมันใต้ผิวหนัง เกิดเป็นผื่นแดง อาจมีขุย หรือสะเก็ดสีขาว ดูคล้ายรังแค สะเก็ดสีเหลือง การอักเสบจะกินบริเวณเป็นวงกว้างโดยเฉพาะบริเวณที่มีต่อมไขมันมาก เช่น ใบหน้า (โดยเฉพาะหัวคิ้ว ข้างจมูก และหลังหู ) หนังศีรษะ ช่วงบนของหน้าอก หลังส่วนบน พบบ้างบริเวณรักแร้ สะดือ และขาหนีบ รวมทั้งมีอาการคัน ทั้งนี้ความรุนแรงของแต่ละคนไม่เท่ากัน
- เกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย
สาเหตุ
การเกิดยังไม่แน่ชัดนัก โดยอาจเกี่ยวข้องกับ
ปัจจัยภายใน
เกิดจาก เชื้อรา Pityrosporum ovale หรือ เชื้อยีสต์ Malassezia furfur
#ฮอร์โมน ในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะฮอร์โมนแอนโดรเจน
ความผิดปกติของระบบประสาท ทำให้ต่อมไขมันผลิตไขมันออกมามากขึ้น
- ความเครียด
- พันธุกรรม
- การตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกันในแต่ละคน
- ปัจจัยภายนอก
สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของอากาศ เช่น อากาศร้อนจัด อากาศเย็นจัด
การสัมผัสกับสิ่งที่ระคายเคือง
***มักเป็นๆ หายๆ ตามปัจจัยกระตุ้นในแต่ละบุคคล เช่น อากาศ จึงจัดเป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง มักไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมอาการได้ถ้าได้รับการดูแลรักษาและดูแลผิวอย่างถูกต้องครับ ***
การรักษา
- ควรพบแพทย์เพื่อทำการรักษาให้ถูกวิธี โดยโรคนี้รักษาได้ไม่ยาก และมีการใช้ยาทาเพียง 1-2 ชนิดเท่านั้น ควบคู่ไปกับการปฏิบัติตนให้ถูกต้อง
**ไม่ควรไปซื้อยา สเตียรอยด์ steroid ทาเองนะครับโดยเฉพาะบริเวณใบหน้า เนื่องจากมีโอกาสที่จะได้รับสเตียรอยด์ที่มีความแรงสูง และเนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่เป็นเรื้อรัง จึงมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงจากยาสเตียรอยด์ได้บ่อย**
- ควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องสำอาง กรณีที่อยากแต่งหน้าปกปิดผื่นเซ็บเดิร์ม เป็นเรื่องที่ไม่แนะนำให้ทำ เพราะอาจไปกระตุ้นให้อาการแย่ลงหรือกลายเป็นผื่นชนิดอื่น เช่น การแพ้สัมผัสครีมหรือเครื่องสำอางบางตัว และอาจทำให้เกิดสิวได้อีกด้วย
- หลีกเลี่ยงสภาวะความเครียดและควรพักผ่อนให้เพียงพอ ควรหมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และดื่มน้ำเยอะๆ พยายามทำร่างกายให้แข็งแรง รวมถึงการเลือกผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่มีมาตรฐาน เลือกค่า PH ที่บอกความเป็นกรดด่างไม่ให้มากเกินไป หลีกเลี่ยงการใช้ครีมหรือเครื่องสำอางที่มัน และมีส่วนประกอบระคายเคืองผิว เช่น AHA หรือ วิตามินA สำหรับคนที่เป็นเซ็บเดิร์มบริเวณศีรษะ ควรใช้แชมพูสระผมที่ไม่ระคายเคืองหนังศีรษะ
- การรักษาโรคเซ็บเดิร์ม ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่เป็นโรคที่สามารถควบคุมอาการได้ เช่น การใช้ยาเพื่อควบคุมอาการ หากอาการทุเลาลงเป็นเวลา 1-2 ปี เนื่องจากการดูแลรักษาที่ถูกวิธี เมื่อเริ่มมีอาการเกิดขึ้นใหม่ ในกรณีที่เครียดหรือตกอยู่ในภาวะที่ไปกระตุ้นทำให้เกิดโรคขึ้นอีกครั้ง เมื่อรู้ตัวก็สามาถรรีบทายาเพื่อควบคุมอาการไม่ให้เกิดมากหรือลุกลามได้
การดูแลอื่นๆ
- ไม่ใช้เครื่องสำอางทุกชนิดบริเวณที่เป็นโรค โดยเฉพาะคอนซีลเลอร์ หรือรองพื้นหนาๆ เพื่อปกปิดรอยผื่น เพื่อป้องกันการอุดตันของชั้นผิวหนัง และป้องกัน การแพ้ สิวที่อาจเกิดขึ้นได้
- หลีกเลี่ยงความเครียด
- ดื่มน้ำมากๆ
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- เลือกผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวที่อ่อนโยน ไม่ระคายเคืองผิว
#หมอรุจชวนคุย
ผศ. นพ. ศุภะรุจ เลื่องอรุณ
หมอรุจ MD Msc
https://www.facebook.com/454651174702057/posts/1354701818030317?sfns=mo