ผมร่วงทั่วศีรษะ (Telogen Effluvium) คืออะไร รักษาได้อย่างไร?

Last updated: 28 ต.ค. 2564  |  4297 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ผมร่วงทั่วศีรษะ (Telogen Effluvium) คืออะไร รักษาได้อย่างไร?

 

ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล

ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล

ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล

 

ผมร่วงทั่วศีรษะ (Telogen Effluvium) คืออะไร รักษาได้อย่างไร?

คือ ภาวะผมร่วง-ผมบาง จากการที่มีสาเหตุมากระตุ้น ทำให้ระยะ Telogen ของวงจรเส้นผมถูกกระตุ้นให้หลุดล่วงเร็วกว่าปกติ ซึ่งระยะ telogen เป็นระยะสุดท้ายของวงจรเส้นผมระยะที่สาม ที่มีประมาณ 10-15% ของเส้นผมบนหนังศีรษะ และคงอยู่นานประมาณ 3 เดือน

-โดยอาการผมร่วงมักเกิดตามหลังสาเหตุต่าง ๆ ประมาณ 2-3 เดือน และใช้เวลา 6-12 เดือนกว่าผมจะขึ้นกลับคืนมา

-ในผู้ป่วยบางรายอาจเกิดผมร่วงทั่ว ๆ ต่อเนื่องนานกว่า 6 เดือน ที่เรียกว่า Chronic Telogen Effluvium (CTE) เกิดเนื่องจากสาเหตุของโรคที่ทำให้ผมร่วงยังคงอยู่ เช่น ภาวะผมร่วงที่สัมพันธ์กับโรคไทรอยด์, โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก, ภาวะขาดสารอาหาร, ขาดวิตามิน หรือแร่ธาตุบางชนิด หรือในผู้หญิง วัยกลางคน (อายุ 30 - 60 ปี)

-บางคนที่มีผมร่วงเรื้อรังทั่วศีรษะหรือบริเวณรอยแสก โดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจน ซึ่งการวินิจฉัยต้องอาศัยการแยกโรคหรือสาเหตุอื่น ๆ ออกไปก่อน โดยเฉพาะภาวะผมบางจากพันธุกรรมในเพศหญิง

ผมร่วงทั่วศีรษะ (Telogen Effluvium) คืออะไร รักษาได้อย่างไร?

ผมร่วงทั่วศีรษะ (Telogen Effluvium) คืออะไร รักษาได้อย่างไร?



สาเหตุของผมร่วงทั่วศีรษะ
-ภาวะเจ็บป่วยแบบเฉียบพลัน เช่น มีไข้สูง การติดเชื้อ การผ่าตัด หรือการได้รับอุบัติเหตุ
-ภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง โรคไตเรื้อรัง และโรคเอสแอลอี

*การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน เช่น การตั้งครรภ์ การคลอดบุตร การแท้งบุตร และความผิดปกติของไทรอยด์ฮอร์โมน
- การขาดสารอาหาร เช่น ระดับธาตุเหล็กต่ำ รับประทานโปรตีนน้อย และการอดอาหาร
- การเสียเลือดเป็นจำนวนมาก และการบริจาคเลือด
- ภาวะเครียด และการพักผ่อนไม่เพียงพอ
- การได้รับสารโลหะหนัก เช่น selenium, arsenic
- การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาฮอร์โมน ยากลุ่มอนุพันธ์ของวิตามินเอ

ผมร่วงทั่วศีรษะ (Telogen Effluvium) คืออะไร รักษาได้อย่างไร?

ผมร่วงทั่วศีรษะ (Telogen Effluvium) คืออะไร รักษาได้อย่างไร?

 



<> อาการของโรคผมร่วงทั่วศีรษะ
โดยส่วนใหญ่คนไข้มักมาด้วยอาการ ผมบางทั่วๆศีรษะ เป็นได้ทั้งแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง แต่โดยมากมักจะบางไม่เกิน 50% ของความหนาของเส้นผม เพราะฉะนั้นโรคนี้จึงไม่ทำให้เกิดภาวะหัวล้าน หรือผมร่วงหมดทั่วทั้งศีรษะ

อาการผมร่วง โดยส่วนใหญ่จะร่วงมากกว่า 100 เส้นต่อวัน
โรคนี้เป็นโรคผมร่วงชนิดไม่มีแผลเป็นที่หนังศีรษะ
เมื่อทดสอบผมร่วงด้วยวิธีที่เรียกว่า Hair pull test เป็นการดึงเส้นผมที่หนังศีรษะประมาณ 50-60 เส้น แตกต่างกันใน 3 บริเวณ โดยปกติแล้วจะมีเส้นผมร่วงติดมือมาได้น้อยกว่า 3 เส้น ต่อการดึงหนึ่งครั้งต่อหนึ่งบริเวณที่ดึง หากพบว่ามีเส้นผมติดมือมาจำนวนมากกว่า 6-10 เส้น แสดงว่าเป็นภาวะผมร่วงที่ผิดปกติ

ผมร่วงทั่วศีรษะ (Telogen Effluvium) คืออะไร รักษาได้อย่างไร?

ผมร่วงทั่วศีรษะ (Telogen Effluvium) คืออะไร รักษาได้อย่างไร?

ผมร่วงทั่วศีรษะ (Telogen Effluvium) คืออะไร รักษาได้อย่างไร?

ผมร่วงทั่วศีรษะ (Telogen Effluvium) คืออะไร รักษาได้อย่างไร?

ผมร่วงทั่วศีรษะ (Telogen Effluvium) คืออะไร รักษาได้อย่างไร?



<> การตรวจทางห้องปฏิบัติการสำหรับโรคผมร่วงทั่วศีรษะ
- โดยหลักเป็นการตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ เพื่อช่วยหาสาเหตุของโรคผมร่วงชนิดนี้ เช่น
- การตรวจหาจำนวนเม็ดเลือดแดง และความเข้มข้นของเลือด CBC
- การตรวจหาความผิดปกติของไทรอยด์ฮอร์โมน Thyroid Function Test
- การตรวจดูระดับธาตุเหล็กในเลือด Serum ferritin
- นอกจากนี้ยังมี การตรวจเส้นผมโดยการส่องพิเศษดูเส้นผมDermoscopy
- การตรวจเส้นผมด้วยกล้องจุลทรรศน์ Microscopy
- และการตัดชิ้นเนื้อที่ศีรษะ Hair and scalp biopsy เพื่อช่วยในการวินิจฉัยแยกโรคผมร่วงชนิดต่างๆ

<> การรักษาโรคผมร่วงทั่วศีรษะ
- ในภาวะเฉียบพลัน โรคผมร่วงทั่วศีรษะชนิดนี้ ในบางรายอาจหายเองได้ แต่ก็กินเวลาค่อนข้างนาน คือ อย่างน้อย 2-3 เดือนขึ้นไป
- การใช้เซรั่มปลูกผม ทาที่หนังศีรษะ เพื่อช่วยให้ผมหลุดร่วงน้อยลง และทำให้เลือดมาเลี้ยงผมดีขึ้น
- การให้อาหารเสริม เช่น ธาตุเหล็ก ในรายที่ผู้ป่วยมีภาวะธาตุเหล็กต่ำ
- การรักษาปัจจัยที่อาจเป็นสาเหตุของโรค เช่น โรคประจำตัว โรคเรื้อรังที่เป็นอยู่ การหยุดยาที่ทำให้ผมร่วง ความเครียด และนอกจากนี้ผู้ป่วยควรได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ

การให้คำแนะนำกับผู้ป่วยว่า โรคผมร่วงชนิดนี้ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษา อาการจะค่อยๆดีขึ้นอย่างช้าๆ เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเครียดหรือกังวลมากเกินไป

<> การวินิจฉัยของแพทย์ จะอาศัยประวัติของผู้ที่มีผมร่วงอย่างฉับพลัน และมีสาเหตุกระตุ้นที่ชัดเจนก่อนมีผมร่วง การตรวจผม พบผมร่วงติดมือ โดยผมที่ร่วงออกมาอยู่ในระยะทีโลเจน ส่วนการรักษาอาการผมร่วงส่วนใหญ่มักจะเป็นอยู่นานประมาณ 3 เดือนแล้วค่อย ๆ ดีขึ้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่ผมขึ้นใหม่ได้เอง หลังจากที่สาเหตุหรือปัจจัยกระตุ้นหมดไป ยกเว้นในรายที่มีสาเหตุที่ทำให้ผมร่วงยังคงอยู่ หรือเกิดซ้ำอีก จนทำให้ต่อมผมถูกทำลาย ซึ่งอาจทำให้ผมขึ้นได้ไม่เต็มเหมือนเดิม โดยเฉพาะในคนไข้ที่มีผมบางจากพันธุกรรมร่วมด้วยนั้น ความหนาแน่นของผมอาจจะขึ้นกลับมาไม่เท่าเดิม โดยการรักษาอาจพิจารณาให้ยาทาชนิด 5% Minoxidil Lotion เพื่อกระตุ้นให้ผมขึ้นกลับมาเร็วขึ้นร่วมกับการให้วิตามิน โดยวิตามินที่พบว่าขาดได้บ่อยในคนผมร่วงฉับพลัน ได้แก่ ธาตุเหล็ก สังกะสี วิตามินดี วิตามินบี 1, 5, 7 (ไบโอติน) และ 12 นอกจากนี้การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การทานโปรตีนให้เพียงพอและกรดอะมิโนแอซิดบางชนิด จะมีส่วนช่วยให้เส้นผมคืนสภาพกลับมาแข็งแรงได้เร็วขึ้น

<> การพยากรณ์โรคผมร่วงทั่วศีรษะ
การพยากรณ์ของโรคผมร่วงชนิดนี้ จะดีหรือแย่ ขึ้นกับการรักษาปัจจัยที่เป็นสาเหตุของผมร่วง เป็นสำคัญ ถ้าเป็นโรคที่เกิดขึ้นเฉียบพลันและสามารถรักษาให้หายขาดได้ การพยากรณของโรคก็จะดีกว่า คนไข้ที่เป็นโรคเรื้อรัง Chronic telogen effluvium
Cr: หมอรุจชวนคุย

https://bit.ly/3vtmfmd 
https://youtu.be/c51qPltHvaU 
https://youtu.be/EwMeaB_icis 
https://youtu.be/IJJtfDJjScI 
..

คลิก!! จองสิทธิ์!! เพื่อรับข้อเสนอพิเศษ
(จำนวนจำกัด)

http://line.me/ti/p/@Demedclinic

 

...
ปรึกษาคุณหมอหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Tel : 063-959-4392 / 063-896-2514
Linehttp://line.me/ti/p/@Demedclinic  
Line: @Demedclinic
Wechat/Whatsapp: Demedclinic
IG: https://www.instagram.com/demedclinic  
Youtube https://bit.ly/3p20YLE 
Blockdit https://bit.ly/3d8vYr1  
https://vt.tiktok.com/ZSJ141Mdf/  
www.demedclinic.com   / www.demedhaircenter.com  

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้