เทคนิคดูแลปัญหาขนคุด KP Keratosis Pilaris Treatment ขนคุด (Keratosis Pilaris) หรือเรียนอีกชื่อว่า “ผิวหนังไก่”

Last updated: 16 ก.ค. 2565  |  9124 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เทคนิคดูแลปัญหาขนคุด KP Keratosis Pilaris Treatment ขนคุด (Keratosis Pilaris) หรือเรียนอีกชื่อว่า “ผิวหนังไก่”

 

ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล

 ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล

 

เทคนิคดูแลปัญหาขนคุด KP Keratosis Pilaris Treatment
ขนคุด (Keratosis Pilaris) หรือเรียนอีกชื่อว่า “ผิวหนังไก่”

•เกิดจากพันธุกรรมที่มีความผิดปกติของการสร้างเซลล์ผิวหนัง (Keratinization)
•ที่ส่งผลให้บริเวณรูขุมขน มีการอุดตันของรูขุมขนด้วยสารเคอราติน ที่เป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง เรียกว่า Keratin plug ส่งผลให้ขนไม่สามารถงอกทะลุรูขุมขนออกมาได้ เกิดเป็นขนคุดอยู่ใต้ผิวหนัง
.
ปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดขนคุด?
โรคขนคุด เกิดในคนทุกอายุทุกเชื้อชาติ ทั้งเพศชายและเพศหญิง อาจเป็นโรคเดี่ยวๆ
•หรือพบร่วมกับโรคอื่น เช่น Atopic dermatitis (โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง), Ichthyosis (โรคผิว หนังเกล็ดปลา/ผิวหนังแห้งมากจนตกสะเก็ด)
•โดยมักพบในผู้ที่มีผิวแห้งมากกว่าผิวมัน และอาการจะเป็นมากขึ้นในฤดูหนาวที่มีอาการเย็นและแห้ง*

เทคนิคดูแลปัญหาขนคุด KP Keratosis Pilaris Treatment ขนคุด (Keratosis Pilaris) หรือเรียนอีกชื่อว่า “ผิวหนังไก่”

เทคนิคดูแลปัญหาขนคุด KP Keratosis Pilaris Treatment ขนคุด (Keratosis Pilaris) หรือเรียนอีกชื่อว่า “ผิวหนังไก่”

เทคนิคดูแลปัญหาขนคุด KP Keratosis Pilaris Treatment ขนคุด (Keratosis Pilaris) หรือเรียนอีกชื่อว่า “ผิวหนังไก่”

เทคนิคดูแลปัญหาขนคุด KP Keratosis Pilaris Treatment ขนคุด (Keratosis Pilaris) หรือเรียนอีกชื่อว่า “ผิวหนังไก่”

เทคนิคดูแลปัญหาขนคุด KP Keratosis Pilaris Treatment ขนคุด (Keratosis Pilaris) หรือเรียนอีกชื่อว่า “ผิวหนังไก่”

 

อาการของขนคุดเป็นอย่างไร?
จากการสะสมของโปรตีนเคอราติน อุดตันรูขุมขน ทำให้ขนไม่สามารถงอกพ้นผิวหนังออกมาได้ตามปกติ

•จึงเกิดเป็นตุ่มตามรูขุมขนมากมาย ทำให้ผิวหนังดูสากคล้ายกระดาษทราย หรือหนังไก่
• บริเวณที่พบได้ คือ ต้นแขนด้านนอก* ต้นขาด้านนอก* บริเวณใบหน้า* ก็สามารถเกิดได้เช่นกันซึ่งมักพบในเด็ก และอาจทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นสิว ตุ่มจากโรคขนคุดเหล่านี้ มักไม่มีอาการอื่น (เช่น คัน เจ็บ) และมีสีออกสีเนื้อ
• พบได้บ้างที่มีการอักเสบ ซึ่งจะทำให้มีรอยแดงรอบรูขุมขน และมีอาการคันร่วมด้วย
• อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของอาการ/ลักษณะตุ่มในแต่ละคนค่อนข้างมาก ตั้งแต่ตุ่มแดงอักเสบชัดเจน จนถึงมีอาการเล็กน้อย มีตุ่มไม่มาก และในเรื่องความสากของผิวหนัง
• ลักษณะโรคขนคุดเมื่อดูด้วยกล้องพิเศษ dermoscopy จะพบมีการอุดตันรูขุมขนด้วยkeratin และมีการอักเสบรอบๆรูขุมขน

บริเวณที่มาสามารถเกิดขนคุดขึ้นได้
* แขนหรือใต้วงแขน
* น่องขา ต้นขาและหัวเข่า
* รักแร้
* ผิวหน้า
.
เทคนิคการดูแลปัญหาขนคุด
• หลีกเลี่ยงการขัดถูอย่างรุนแรง scrubbing ซึ่งจะทำให้เกิด เห่อการอักเสบแดงคันของขนขุดได้
• ดูแลผลัดเซลล์ผิวอย่างอ่อนโยน exfoliating โดยขจัดเซลล์ผิวหนังชั้นนอกที่นูนเป็นตุ่มออกอย่างเบาๆด้วยผ้าเช็ดตัว ใยบวบ ฟองน้ำนิ่มๆ ***ต้องขอเน้นว่าเช็ดอย่างเบาเบานะครับ ห้ามขัดถูรุนแรงเด็ดขาด ไม่อย่างนั้นจะยิ่งทำให้เห่อเป็นมากขึ้น
• ทาผลิตภัณฑ์ที่มีสารที่ช่วยในการผลัดเซลล์ผิว Keratolytic agents ซึ่งช่วยให้เซลล์ผิวชั้นนอกที่หนาหลุดลอกออก ***โดยเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของสาร เช่น
Alpha hydroxyl acid AHA มีการศึกษาการใช้70% glycolic acid ทาไว้ 5-7 นาที
Glycolic acid
Lactic acid
Retinoid (retinol, tretinoin, adapalene, tazarotene)
Salicylic acid 6%
Urea 20%
.
•โดยต้องใช้ตามที่ผลิตภัณฑ์แนะนำนะครับเพราะถ้าใช้มากเกินไปอาจจะเกิดอาการระคายเคืองผิวหนังอักเสบแดงคันตามมาได้
• หรือถ้าใช้แล้วมีอาการแห้งแดงคันอักเสบ แนะนำให้เว้นการใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลผิวดังกล่าวสองถึงสามวันจนอาการหายดีแล้วค่อยกลับมาใช้ใหม่ครับ
- ทามอยเจอไรเซอร์บำรุงผิวปริมาณมากโดยเฉพาะ Moisturizer ที่ประกอบด้วย ยูเรีย Urea และแลคติคแอซิด Lactic acid*
- เนื่องจากการทาผลิตภัณฑ์ที่ช่วยในการผลัดเซลล์ผิวจะทำให้ผิวแห้งมีอาการระคายเคืองได้ การทามอยเจอไรเซอร์ให้ผิวชุมชื่นจึงมีความสำคัญมาก

เทคนิคดูแลปัญหาขนคุด KP Keratosis Pilaris Treatment ขนคุด (Keratosis Pilaris) หรือเรียนอีกชื่อว่า “ผิวหนังไก่”

เทคนิคดูแลปัญหาขนคุด KP Keratosis Pilaris Treatment ขนคุด (Keratosis Pilaris) หรือเรียนอีกชื่อว่า “ผิวหนังไก่”

เทคนิคดูแลปัญหาขนคุด KP Keratosis Pilaris Treatment ขนคุด (Keratosis Pilaris) หรือเรียนอีกชื่อว่า “ผิวหนังไก่”

เทคนิคดูแลปัญหาขนคุด KP Keratosis Pilaris Treatment ขนคุด (Keratosis Pilaris) หรือเรียนอีกชื่อว่า “ผิวหนังไก่”


• โดยเลือกผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากน้ำมัน thick oil-free cream เพื่อลดการอุดตันของรูขุมขน
• แนะนำให้ทาหลังอาบน้ำเสร็จภายใน3- 5 นาที บนผิวเปียกหมาดหมาด
• ทาเมื่อรู้สึกผิวแห้ง และให้ทาอย่างน้อยสองถึงสามครั้งต่อวัน
• เมื่ออาการตุ่มขนคุดดีดีขึ้นแล้วแนะนำให้ดูแลอย่างต่อเนื่อง Maintainance โดยอาจใช้วิธีข้างต้นสองถึงสามครั้งต่อสัปดาห์
• ดูแลได้ครับ แต่ใช้เวลาและมีโอกาสเป็นซ้ำได้
.
การป้องกันการกำเริบของขนคุด Prevent Flare Up
-ทาครีมบำรุงผิวเพื่อป้องกันไม่ให้ผิวแห้งอย่างสม่ำเสมอ ***เนื่องจากขนคุดมักจะเห่อเป็นมากเมื่อผิวแห้ง***
.
หลีกเลี่ยงการกำจัดขนบริเวณที่เป็นขนคุดด้วยการแว็กซ์หรือการโกนซึ่งจะทำให้ขนคุดเห่อเป็นมากขึ้น
• ถ้าต้องการกำจัดขนแนะนำเป็นการใช้เลเซอร์กำจัดขนซึ่งจะไม่ทำให้เกิดการเห่อของขนคุดครับ
- อย่าอาบน้ำนานเกินไป แนะนำไม่เกิน 20 นาที (ดีที่สุดไม่เกิน 5 นาทีครับ) และอาบน้ำอุณหภูมิอุ่นเล็กน้อย *หลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อนครับ
- ใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่อ่อนโยน การใช้การใช้สบู่ก้อนอาจจะทำให้ผิวแห้งมากขึ้นได้ครับ
- หลีกเลี่ยงการโดนแดดจัด การทำผิวสีแทนหรือการอาบแดดซึ่งจะทำให้ตุ่มขนคุดชัดขึ้นได้ครับ
- ใช้เครื่องเพิ่มความชุ่มชื้นในอากาศ Humidifier เมื่ออากาศเย็นและแห้งมากครับ

การรักษาอื่นๆแนะนำปรึกษาแพทย์ก่อนนะครับ
-การผลัดเซลล์ผิวอุดตัน (Keratolytic) เช่นการใช้ Urea, Lactic acid ,Alpha hydroxyl acid (AHA), Salicylic acid, Glycolic acid
- การทาอนุพันธุ์ของวิตามิน-เอ Topical Isotretinoin
- การทายาทาสเตียรอยด์ ใช้ในช่วงที่ตุ่มของโรคขนคุดมีอาการ แดง คันอักเสบโดยให้ยาเพียงช่วงเวลาสั้นๆประมาณ 2 สัปดาห์ (ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนนะครับ)
...
การใช้เลเซอร์
• การใช้เลเซอร์กำจัดขน เช่น IPL Long pulse Nd Yag diode laser
• การใช้เลเซอร์กลุ่มอื่นๆเช่น
• Pulsed dye laser PDL (Vbeam ) โดยเฉพาะขนคุดที่มีอาการแดงอักเสบร่วมด้วย
• Alexandrite laser
• Nd:YAG laser
• Fractional CO2 laser

Keratosis pilaris is a common skin condition, which appears as tiny bumps on the skin. Some people say these bumps look like goosebumps or the skin of a plucked chicken. Others mistake the bumps for small pimples.
These rough-feeling bumps are actually plugs of dead skin cells. The plugs appear most often on the upper arms and thighs (front). Children may have these bumps on their cheeks.
..

To diminish the bumps and improve your skin’s texture, dermatologists often recommend exfoliating (removing dead skin cells from the surface of your skin). Your dermatologist may recommend that you gently remove dead skin with a loofah or at-home microdermabrasion kit.
Your dermatologist may also prescribe a medicine that will remove dead skin cells. Medicine that can help often contains one of the following ingredients:
* Alpha hydroxyl acid
* Glycolic acid
* Lactic acid
* A retinoid (adapalene, retinol, tazarotene, tretinoin)
* Salicylic acid
* Urea

อ้างอิง
AAD.org https://www.aad.org/public/diseases/a-z/keratosis-pilaris-treatment 
Wang JF, Orlow SJ. Keratosis Pilaris and its Subtypes: Associations, New Molecular and Pharmacologic Etiologies, and Therapeutic Options. Am J Clin Dermatol. 2018 Oct;19(5):733-757.
Pennycook KB, McCready TA. Keratosis Pilaris. [Updated 2022 May 8]. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2022 Jan-.
...
Cr:หมอรุจชวนคุย

...

ตัวอย่างรีวิวคลิปการรักษา
https://bit.ly/3n7jL94 
https://www.blockdit.com/posts/606ccc15171ae50c26cc97f5 
https://youtu.be/GNsJG1ZlpZk 
https://youtu.be/fRUzKyy2veM 
https://bit.ly/3A4xCCK 
https://youtu.be/HqH1PY0ADac 
https://youtu.be/PsMCxzOyZrk 

...

คลิก!! จองสิทธิ์!! เพื่อรับข้อเสนอพิเศษ
(จำนวนจำกัด)

http://line.me/ti/p/@Demedclinic


...
ปรึกษาคุณหมอหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Tel : 063-959-4392 / 063-896-2514
Line: http://line.me/ti/p/@Demedclinic 
Line: @Demedclinic
Wechat/Whatsapp: Demedclinic
IG: https://www.instagram.com/drsuparuj 
www.facebook.com/drsuparuj 
Youtube: https://bit.ly/3p20YLE
Blockdit: https://bit.ly/3d8vYr1
https://vt.tiktok.com/ZSJ141Mdf/ 
https://mobile.twitter.com/drruj1 
www.demedclinic.com  / www.demedhaircenter.com 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้