Last updated: 29 ธ.ค. 2566 | 5196 จำนวนผู้เข้าชม |
สิวที่หลัง และลำตัว Truncal & Body Acne เกิดจากอะไรและดูแลรักษาได้อย่างไร ? (Update + รีวิว)
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
Update Contents ดูแลรักษาสิวที่หลังและลำตัว (หมอรีวิวมาจะยาวนิดนึงนะครับ)
1.สาเหตุการเกิดสิวที่หลังและลำตัว
2. ตัวกระตุ้นให้เกิดสิวที่หลังและสิวที่หลังอักเสบเป็นมาก triggering of truncal acne
3.ลักษณะของสิวที่หลังและลำตัว
4.ลักษณะของสิวอักเสบที่รุนแรงที่ลำตัวชนิดที่รุนแรงเป็นพิเศษต้องรีบรักษา
5.โรคที่มีลักษณะคล้ายสิวที่หลังและลำตัว
6.การดูแลรักษาสิวที่หลังและลำตัว: ยาทา ยาทาน peeling, เลเซอร์
7.เทคนิครักษาแผลเป็นจากสิวที่หลังและลำตัว
•
1.สิวที่หลังและลำตัว Truncal & Body Acne (Bacne) เกิดจาก
1. รูขุมขนอุดตัน
2. แบคทีเรีย โดยเฉพาะ C. acnes
3. ความมันและเซลล์ผิวที่ตายแล้ว Sebum
4. และการอักเสบ Inflmmation ซึ่งมีลักษณะกลไกการเกิดเหมือนกับสิวที่ใบหน้าครับ
•ส่วนมากคนที่มีสิวที่ใบหน้ามักจะมีสิวที่หลังและลำตัวได้บ่อยถึง 50% แต่จะพบมีสิวเฉพาะที่หลังและลพตัวอย่างเดียวโดยไม่มีสิวที่หน้าเพียง 3%#
•มีโอกาสเกิดเป็นแผลเป็นยุบตัวและแผลเป็นนูนคีย์รอยได้ค่อนข้างบ่อยครับ
•
กลไกการเกิดของสิวที่หลังและลำตัว
• กลไกการเกิดของสิวที่หลังและลำตัวมีลักษณะเดียวกันกับการเกิดสิวที่บริเวณใบหน้าโดยมีสาเหตุหลักๆคือการมีไขมันที่เพิ่มขึ้นและชนิดของเชื้อแบคทีเรีย C. acnes และ microbiome ที่แตกต่างกัน โดยเป็นชนิด phenotype IA1 และ IA2
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
2.ตัวกระตุ้นให้เกิดสิวที่หลังและสิวที่หลังอักเสบเป็นมากTriggering of Truncal Acne##
•Nutrition อาหาร มีผลวิจัยยืนยันว่าการบริโภคคาร์โบไฮเดรตเช่นขนมปังขาวหรือมันฝรั่งทอดอาจทำให้เป็นสิวได้ เพราะเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดที่เป็นสาเหตุของการเกิดสิว
• Protein complements: เช่น whey protein https://youtu.be/QRe7kf-aVjE
• Clothing เสื้อผ้าที่หนา
• Climatic conditions เช่นอากาศร้อนทำให้เหงื่อออกมาก
• Sweat เหงื่อออกโดยเฉพาะเหงื่อออกหลังออกกำลังกาย เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดสิวได้ หากใส่เสื้อที่คับหรือพอดีตัวเกินไป เมื่อเหงื่อออกในเสื้อ อาจทำให้สิวรุนแรงขึ้นได้
• Hormonal treatments โดยเฉพาะ ฮอร์โมน testosterone และ DHT จะกระตุ้นให้ต่อมไขมันทำงานมากขึ้นและเกี่ยวข้องกับการทำให้สิวอักเสบหลังและลำตัวรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะในเพศชาย และ Transgender
• Mechanical factors เช่นการขัดถู สครับผิว หรือการใช้ผ้าเช็ดตัวเช็ดอย่างรุนแรง หรือการสะพายกระเป๋าที่มีการเสียดสี
• ยาบางชนิดอาจทำให้เกิดสิวได้ครับ เช่น ยารักษาอาการซึมเศร้า ยา สเตียรอยด์ ทั้งแบบรับประทานและแบบทา วิตามิน (วิตามินบีขนาดสูง) อาจทำให้เกิดสิวได้ครับ
- ยาที่มีการศึกษาชัดเจนว่าทำให้เกิดสิว Corticosteroids, Testosterone and other anabolic-androgenic steroids (AAS), Lithium, Isoniazid, Halogens, EGFR inhibitors (EGFR-I)
- ยาที่อาจทำให้เกิดสิว May Cause Acne: วิตามินบีขนาดสูงโดยเฉพาะในเพศหญิง
- ยาอื่นๆที่มีรายงาน Rifampicin, Ethosuximide, Interferon, Olanzapine, hormonal contraceptives that release progesterone
https://www.acne.org/what-medications-can-cause-acne.html
•
3.ลักษณะของสิวที่หลังและลำตัว
•จะเป็นลักษณะสิวอุดตันทั้งหัวปิดและหัวเปิด open and closed head comedone
•ส่วนมากเป็นสิวอักเสบ Inflmmatory Acne โดยเฉพาะในเพศชายบริเวณหน้าอกและหลัง*
•และสิวที่หลังและลำตัวมักจะเกิดเป็นแผลเป็นรุนแรง ทั้งเป็นยุบตัว Atrophic scar และแผลเป็นนูนคีลอยด์ Keloid
•แผลเป็นนูนคีลอยด์ Keloid มักเป็นมากที่ไหล่และหน้าอกส่วนบน
•โดยลักษณะแผลเป็นจากสิวที่ค่อนข้างเป็นเฉพาะสำหรับสิวที่หลังลำตัวและแขนส่วนบนคือ follicular macular atrophy หรือ Papular acne scar ###
4.โดยลักษณะของสิวอักเสบที่รุนแรงที่ลำตัวชนิดที่รุนแรงเป็นพิเศษต้องรีบรักษาเช่น
1. Acne conglobata จัดเป็นสิวที่มีความรุนแรง
พบบ่อยกว่าในเพศชาย จัดเป็นรูปแบบหนึ่งของ nodulocystic acne ชนิดที่มี โพรงฝีหนองและไซนัสที่เชื่อมกัน (interconnecting abscesses and sinuses) ทำให้เกิดแผลเป็นที่ไม่น่าดูทั้งชนิดนูนหนา (hypertrophic scars) และชนิดผิวฝ่อ (atrophic scars) ยังพบสิวอุดตันขนาดใหญ่ (macrocomedones) และถุงซิสต์ที่ภายในมีหนอง ที่มีกลิ่นเหม็น. สิวชนิดนี้อาจก่อแผลเป็นอย่างรุนแรงทำให้เสียโฉม พบที่หน้า, หน้าอก, หลัง, ก้น, ต้นแขน และต้นขา สิวประเภทนี้เริ่มเป็นระหว่างอายุ 18-30 ปี และอาจกำเริบอยู่นานหลายปี ค่อนข้างดื้อต่อการรักษา ต้องใช้ยา isotretinoin ชนิดกิน.
•โดยอาจถูกกระตุ้นโดยการใช้ฮอร์โมนในนักเล่นกล้ามเป็นต้น Androgenic anabolic steroids
2. Acne fulminans เป็น acne conglobata ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ปกติพบในชายหนุ่ม. อาการคือ พบ nodulocystic acne ที่เป็นรุนแรง โดยพบได้บ่อยว่ามีสิวแตกเป็นแผล พบว่าเกิดแผล เป็นได้มากเช่นเดียวกับที่พบใน acne conglobata โดยที่ในโรค acne fulminans มีลักษณะเฉพาะคือ มีอาการไข้และปวดข้อร่วมด้วย โดยเฉพาะข้อตะโพกและข้อเข่า. สิวชนิดนี้ไม่ค่อยตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะมักต้องใช้ยากิน isotretinoin และสตีรอยด์. ผู้ที่เป็นสิวชนิดนี้อาจเป็นสิวรุนแรงชนิดอื่นที่รักษาไม่หายมาก่อน.
•สาเหตุพบว่าเกิดจากฮอร์โมน Testosterone
5.โรคที่มีลักษณะคล้ายสิวที่หลังและลำตัวซึ่งต้องวินิจฉัยแยกโรคเช่น (หมอจะขอกล่าวถึงในตอนถัดไปนะครับกลัวจะยาวเกินไป )
1. Pityrosporum folliculitis สิวจากเชื้อเกลื้อน (pityrosporon folliculitis, malassezia folliculitis)
•มักพบหลังการใช้ยาปฏิชีวนะและมักเป็นลักษณะรอยโรคลักษณะเดียวกัน fine monomorphic, pruritic papules and pustules พบบริเวณไรผมและหลังส่วนบน
•พบบ่อยในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงและอยู่ในที่มีอากาศร้อนชื้น
2. สิวเรื้อรังที่รักแร้ (hidradenitis suppurativa หรือ acne inversa)มีลักษณะเป็นสิวและตุ่มหนองอักเสบเรื้อรัง เมื่อหายจะเกิดแผลเป็น พบได้ที่รักแร้
3. สิวจากยา (Drug-induced acne, DIA) สิวอาจเกิดหรือเป็นมากขึ้นจากการได้รับยา ทาหรือยากินบางขนาน โดยเฉพาะยาสเตียรอยด์ทั้งชนิดทา กินหรือฉีด
•มักพบเป็นสิวอักเสบเช่นตุ่มอักเสบ Papule and pustules มากกว่าสิวอุดตันหัวเปิด Open comedone ครับ**
6.การดูแลรักษาสิวที่หลังและลำตัว
•โดยส่วนมากแนวทางการรักษามักใช้การรักษาแบบสิวที่ใบหน้า โดยยังไม่มีแนวทางการรักษาแยกเฉพาะสำหรับสิวที่หลังและลำตัว
โดยแนะนำพบแพทย์เนื่องจากรักษาค่อนข้างยากและอาจจะต้องใช้ยาชนิดรับประทานร่วมด้วยครับ
ข้อจำกัดที่ต้องพิจารณาของการรักษาสิวที่หลังและลำตัวคือ
• การรักษาสิวที่หลัง เนื่องจากเป็นบริเวณที่กว้าง และมักจะทายาเองได้ยาก
• ยาที่ใช้บางชนิดอาจจะทำให้สีของเสื้อตก bleaching of clothing เช่น BPO
• การรักษามักต้องดูแลรักษาต่อเนื่องและใช้เวลาในการรักษา
• แต่มักจะไม่ค่อยมีอาการระคายเคืองแสบร้อนแดงลอกเหมือนการรักษาสิวที่ใบหน้าครับ
• หากสิวที่หลังมีขนาดใหญ่ อักเสบ หรือมีจำนวนเยอะมาก ๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสมนะครับ เนื่องจากถ้าปล่อยทิ้งไว้ อาจเกิดรอยดำ รอยแดง จนถึงแผลเป็นตามมาได้ครับ
การดูแลผิวสำหรับสิวที่หลังและลำตัว
• เสื้อผ้า ควรใส่แบบที่ไม่แน่นจนเกินไป เนื่องจากการใส่เสื้อผ้าแน่นเกินไปอาจทำให้เกิดการเสียดสีกระตุ้นให้เกิดการเห่อของสิวได้ครับ
• อาบน้ำทันทีหลังออกกำลังกายเสร็จ เนื่องจากเหงื่อและผิวที่เปียกจะส่งเสริมการเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้เสื้อผ้าที่เปียกเหงื่อจะทำให้เกิดการระคายเคืองของผิวหนังได้ครับ
• หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วมผสมหลักเป็นน้ำมัน โดยเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่บอกว่า non-comedogenic, non-acnegenic, won’t clog pores หรือ oil-free เพราะครีมที่มันเกินไปอาจทำให้รูขุมขนอุดตันได้
• ใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ หากเหงื่อออก เสื้อผ้าหลวม ๆ จะช่วยให้ผิวผ่อนคลายและระบายเหงื่อ แต่เสื้อผ้าที่คับหรือพอดีตัวเกินไปจะดักจับเหงื่อและสิ่งสกปรกไว้พร้อมทั้งยังเสียดสีบริเวณผิวหนังหรือรูขุมขน
• ลดแรงกดบริเวณหลัง เช่นงดการใช้กระเป๋าสะพาย backpack
• การถอดเสื้อออกกำลังกายในบริเวณที่พื้นสกปรกหรือบริเวณที่เครื่องเล่นเต็มไปด้วยเหงื่อก็อาจก่อให้เกิดสิวได้
• หลีกเลี่ยงไม่ให้ผมสัมผัสโดนหลัง เพราะสิ่งสกปรกหรือน้ำมันจากผมอาจก่อให้เกิดสิวที่หลังได้ ควรมัดผมหรือรวบผมเวลาที่มีเหงื่อและสระผมให้สะอาดอยู่เสมอ
• พยายามไม่ให้ครีมนวดผมหรือแชมพูไหลผ่านหลัง เพราะส่วนผสมในผลิตภัณฑ์อาจทำให้รูขุมขนอุดตันได้
• ควรอาบน้ำให้เร็วที่สุดและเปลี่ยนชุดหลังจากเล่นกีฬาหรือกิจกรรมที่เหงื่อออกมาก ทุกครั้ง
• งดการขัดผิว Scrub รุนแรง เพราะทำให้ผิวแห้งระคายเคือง
• ใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยน โดยเลือก gentle, fragrance-free skin care products
• งดใข้แปรงขัดหลัง backbrushes, buffpuffs
• งดแกะเกาสิวที่หลังนะครับ เพราะจะยิ่งทำให้เกิดอักเสบ รอยดำ รอยแดง จนถึงเป็น แผลเป็นนูน keloid ได้เลยนะครับ
ยาทา
•กรดวิตามินเอ 1st and 2nd generations retinoids, such as tretinoin and adapalene ทาก่อนนอน (คนท้องห้ามชื้อใช้เอง พบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ)
•ยา Benzoyl peroxide (BPO) โดยอาจใช้ BPO wash 5-10% ฝอกทิ้งไว้ เริ่มต้น 1-3 นาที แล้วค่อยค่อยเพิ่มเป็น5-10 นาที* (แนะนำ) ใช้ง่าย บริเวณกว้าง โดยเริ่มใช้วันละครั้ง และเพิ่มเป็นวันละ 2 ครั้ง
โดยอาจต้องใช้เวลา 6 สัปดาห์จึงเห็นผลชัดเจน
ถ้าอาการดีขึ้นแล้วอาจจะใช้สองถึงสามครั้งต่อสัปดาห์เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำครับ
• ยาทา Benzoyl Peroxide (BPO) 2.5 หรือ 5% ทิ้งไว้ 5-10 นาที แล้วล้างออก (แนะนำ, คนท้องห้ามชื้อใช้เอง พบแพทย์เพื่อขอคำแนะนำ) ตัวอย่างยี่ห้อ: Benzac, Aknederm, Enzoxid 2.5, PanOxyl 2.5
• ยาทาชนิดรวม เช่น fixed combinations of adapalene and BPO or tretinoin and erythromycin or dalacin,
• ยาปฏิชีวนะชนิดทา Topical antibiotic กรณีที่เป็นสิวอักเสบ
• ยา Azelaic acid เช่น Skinoren
• การใช้วิธี Photodynamic therapy PDT โดยใช้ตัวยา methyl aminolévulinate (MLA)
• การใช้ Salicylic acid (BHA) wash ใช้อาบน้ำ, ผลัดเซลล์ผิว peel และ Spray พ่น ตัวอย่างสเปรย์ฉีดสิวที่หลัง ที่มีส่วนผสมของ Salicylic acid
ตัวอย่างยี่ห้อ: Smooth E Body Acne Spray, Oxecure,Acne-Ex, ดร.สมชาย Acne lotion
•ยาทาแป้งน้ำที่มีส่วนประกอบของ Resorcinol 1% ช่วยลดการหนาตัวของผิว ลดการอุดตัน ช่วยผลัดผิวชั้นบน, Salicylic Acid 1% หรือ BHA ช่วยผลัดผิว ละลายได้ดีในนำมัน ช่วยลดการเกิดสิวอุดตันและสิวอักเสบ, Zinc Oxide 6.7% ช่วยต้านเชื้อแบคทีเรีย (แป้งน้ำศิริราช Lotion P No.1) โดยเขย่าขวดก่อนใช้และทาเป็นตัวสุดท้ายก่อนนอนครับ
•หากคัน อาจเพิ่มการฟอกด้วย สบู่แชมพูเหล่านี้ สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง (นอกนั้นใช้สบู่ที่อ่อนโยน) เช่น
ไนโชรัล, เซลซั่น, Harrogate sulphur soap
ยารับประทาน ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนนะครับเนื่องจากมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงได้
•ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทาน oral antibiotics เช่น lymecycline doxycycline
•ยาoral isotretinoin กรณีที่เป็นสิวอักเสบรุนแรงมากครับ
•ยา Spironolactone ในผู้หญิง
•Zinc gluconate
การรักษาเสริม: การรักษาเสริมด้วยหัตถการต่างๆ
ส่วนมากสิวที่หลังและลำตัวมักจะตอบสนองช้ากว่าการรักษาสิวที่ใบหน้า
แต่มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการรักษาสิวที่หลังลำตัวน้อยกว่าที่ใบหน้า
เช่น
•การผลัดเซลล์ผิว เช่น salicylic acid, glycolic acid, lactic acid, mandelic acid, retinoic acid, trichloroacetic acid, Jessner’s solution, kojic acid, pyruvic acid, azelaic acid และการใช้ combination peel ที่มีการรวมของกรดหลายชนิด
•เทคนิค Photodynamic therapy (PDT) มีการศึกษาในการใช้ดูแลรักษาสิวที่หลังลำตัวค่อนข้างมาก สามารถช่วยลดสิวอักเสบได้ โดย เช่นการใช้ topical 5% 5-aminolevulinic acid (ALA) (แนะนำ)
...
คลิก!! จองสิทธิ์!! เพื่อรับข้อเสนอพิเศษ
(จำนวนจำกัด)
...
ปรึกษาคุณหมอหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Tel : 063-959-4392 / 063-896-2514
Line: http://line.me/ti/p/@Demedclinic
Line: @Demedclinic
Wechat/Whatsapp: Demedclinic
IG: https://www.instagram.com/drsuparuj
www.facebook.com/drsuparuj
Youtube: https://bit.ly/3p20YLE
Blockdit: https://bit.ly/3d8vYr1
https://vt.tiktok.com/ZSJ141Mdf/
https://mobile.twitter.com/drruj1
www.demedclinic.com / www.demedhaircenter.com